15 ตุลาคม 2553

จากเด็กนอกแลป...

คุณเพื่อนค่ะ เราเป็นเด็กนอกแลป แต่ก็ติดตามที่นี่มานาน ก็มีเรื่องจะฝากเพื่อนๆ เกี่ยวกับการเตรียมตัวสำหรับนำเสนอสอบหัวข้อโปรเจค ตามที่ได้ถูก "ฆ่า" มาจากการซ้อม ดังนี้จ้า

การทำ Slide นำเสนอ
- หน้าแรก : ชื่อหัวข้อ (ไทย - English), ชื่อ สกุล รหัส (กรณีเป็นคู่ ต้องจัดย่อหน้าให้ตรงกัน), อาจารย์ที่ปรึกษา, ระบุวันที่นำเสนอ, ระบุสาขาวิชา... ภาควิชาคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
- หน้า contents : หากไม่สะดวกภาษาอังกฤษ ใช้ภาษาไทยได้
- การใช้คำต่างๆ ต้องดูให้เป็น consistency ด้วย คือ ถ้าใช้คำไหนภาษาไทยแล้ว ก็ไทยให้หมด เช่น กราฟิก - ทั้งสไลด์ก็ใช้กราฟิก ไม่ปนกับ graphic, หรือถ้าคำใดใช้ English ก็ English ล้วน
- ถ้าต้องการทับศัพท์ (เช่นกราฟิกที่กล่าวมา) ต้องมั่นใจว่าสะกดได้ถูกต้องตามหลักของราชบัณฑิตที่ได้บัญญัติเอาไว้ หาได้จาก http://guru.sanook.com , หรือเว็บราชบัณฑิต http://www.royin.go.th/th/home/
- ระวังเรื่องการใช้คำศัพท์เอกพจน์ กับพหูพจน์ และการขึ้นต้นตัวพิมพ์เล็กพิมพ์ใหญ่ด้วย

การเรียงลำดับการนำเสนอ
- ที่มาและความสำคัญ : บอกถึงสาเหตุที่เป็นเหตุผลให้สร้างโปรแกรมนี้ และหากเป็นไปได้ ควรยกตัวอย่างโปรแกรมอื่นๆที่เกี่ยวข้องประกอบการนำเสนอ เพื่อเพิ่มน้ำหนัก และชี้ให้เห็นประโยชน์ของงานที่เราจะทำ แล้วจึงค่อยอธิบายว่าต้องการทำงานอะไร
- User interface คร่าวๆของโปรแกรมที่ต้องการพัฒนา
- สิ่งที่ต้องศึกษา เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาโปรแกรม ควรเรียงลำดับก่อนหลัง
- grant chart : แผนผังบอกลำดับขั้นตอนการทำงาน ตั้งแต่เดือนตุลาคม - ต้นเดือนมีนาคม ซึ่งรวมถึงขั้นตอนของการทำเอกสาร (รูปเล่ม) ด้วย
- ปิดด้วย Q/A

ไม่รู้จะเป็นประโยชน์มั้ยนะ ก็ลองดู แง่มๆ

ซ้อมกันได้แล้วนะ...เวลามันเดินเร็วจริงๆ

04 สิงหาคม 2553

เรียน อ.อภิเษก

อาจารย์ครับจักส่งเอกสารสรุปเนื้องานส่วนของจักที่จะต้องให้อาจารย์รัศมีดูเข้าไปในเมล์แล้วนะครับ ถ้ายังไงรบกวนอาจารย์ตรวจทานความถูกต้องอีกสักครั้งนะครับ

31 กรกฎาคม 2553

A Network Monitor System Model with Performance Feedback Function

ประสิทธิภาพของระะบบเครือข่ายอาจมีผลมาจากระบบตรวจสอบเครือข่าย(Monitor Network) เพราะในระบบ Monitor Network จะมีส่วนที่ทำให้เกิดความล่าช้าเช่น Protocol Analysis , Address Filter , Address Cheat ซึ่งวิธีการเหล่านี้จะทำให้เกิดความล่าช้าในระบบ และอาจเกิดการสูญหายของแพ็กเก็ตได้ ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพของระบบเครือข่าย ซึ่งสามารถหาค่าต่างๆได้ตามสมการต่อไปนี้

1. Delay of Frames




2. Packet Loss Rate




3. Performance Parameter



ในบทความนี้ได้แบ่งวิธีการแก้ปัญหาออกเป็น 5 วิธี ดั้งนี้
1.Packet Sniff Module จะเป็นการเปิดปิด Filtering Function ของ Sniff Packet โดยทำงานตามค่าของ SM ซึ่งมีค่าเป็น 0 กับ 1 ซึ่งหมายถึงการเปิิด กับ การปิด ตามลำกับ

2.Communication Control Module จะแบ่งเป็นกฏ
สองอย่างตามค่าของ CCM เป็น 0,1 หมายถึง กฏพิเศษ กับ กฏควบคุม ตามลำดับ

3.Packets Generation and Sending Module เป็นการควบคุมความถี่ในการส่ง แบ่งเป็น 3 แบบ ตามค่าของ PSM เป็น 0,1,2 โดยมีความแตกต่างคือ ความถี่ที่ต้องการ , ครึ่งนึงของความถี่ที่ต้องการ และ 1ใน4 ของความถี่ที่ต้องการ ตามลำดับ

4.Packets Transfer Module เป็นการควบคุมการส่งข้อมูล โดยตามค่าของ PM มีค่าเป็น 0,1 หมายถึง แบบปกติ กับ ส่งโดยตรง ตามลำดับ

5.Protocol Analysis Module เป็นการเลือกระดับชั้นของเลเยอร์ในการทำงาน ตามค่าของ PAM ซึ่งมีค่าเป็น 0,1,2 หมายถึง Link Layer,Network Layer,Transport Layer ตามลำดับ

จากรูปแบบการแก้ปัญหาทั้งหาวิธี สามารถจัดกลุ่มได้ 10 กลุ่มโดยที่ไม่ขัดแย้งกันเองดังตารางต่อไปนี้
ค่าของ i จะขึ้นอยู่กับอัตราการเพิ่มและลดของ P ในสมการที่(4)

28 กรกฎาคม 2553

สรุป Paper ของไต๋

Integrated Tourist Navigation System
(ส่งfile PDF พร้อมรูปประกอบไว้ใน GoogleDoc แล้วครับเนื้อหาจะครบถ้วนมากกว่าอันนี้)
ข้อมูลที่มีอยู่น้อย ในแผนที่ แม้แต่ระบบ GPS ก็ยังทำให้ นักท่องเที่ยวมันใจได้แค่เรามาถูกตำแหน่งแล้ว แต่นักท่องเที่ยวจะไม่รู้ว่าอาคารที่เราจะไปมันอยู่ตรงไหน เพราะขาดข้อมูลสภาพแวดล้อมโดยรอบ และถึงแม้เราจะมีข้อมูล 2มิติ และ 3มิติแล้ว การจะดูข้อมูลก็ยังเกิดปัญหา เช่น การเปิดสองหน้าจอสลับกันจะสร้างความสับสน และแน่นอน การตัดสินใจที่ช้าลงด้วย จึงได้คิด method มา 2อันคือ
1.Overlay-style blending และ 2.Escher-style blending
เนื่องจาก ทั้ง 2 methods ที่เค้าเสนอมา จะมีส่วนที่แสดง map ลงบนถนนโดยที่ทั้งสองด้านจะมีตึกอยู่กระหนาบกัน ดังนั้นถนนแบบปกติมันจะแคบไป เค้าจึงคิด algorithm Grouping Buildings เพื่อที่จะทำให้ โครงสร้างตึก ในบล็อกๆหนึ่งถูกอัดเข้าไปให้แน่นขึ้น เพื่อที่จะได้มีถนนที่กว้างขึ้น โดยยังไม่เสียความสัมพันธ์ของตำแหน่งเดิมไปโดยจะนำโมเดลมาผ่านกระบวนการ Image-processing จนได้ภาพขาวดำออกมา แล้วผ่าน algorithm ที่เค้าคิดจนได้เป็น ภาพขาวดำที่จัดให้แน่นขึ้นแล้วจึงเปลี่ยนกลับไปเป็นโมเดล ซึ่งนอกจากกจะได้พื้นที่ๆเพิ่มขึ้นแล้ว ยังช่วยปรับปรุงให้เรามองโครงสร้างของเมืองได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
**(ผมไม่แน่ใจว่าต้อง present reference[2] ด้วยรึเปล่าครับ)


27 กรกฎาคม 2553

A Travel Planning Optimization under Energy and Time Constraints ตุลย์ครับ

นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จำเป็นจะต้องวางแผนการเดินทางก่อนที่จะไปจริง เพื่อประหยัดพลังงานที่ต้องใช้ และสามารถเที่ยวชมสถานที่ที่สนใจได้มากที่สุด ภายในเวลาจำกัด งานวิจัยนี้จะนำเสนอระบบ e-tourism ที่ เน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการวางแผนการท่องเที่ยว ภายใต้ข้อจำกัดด้านพลังงานและเวลา โดยที่ยังสอดคล้องกับความต้องการของนักท่องเที่ยว

ระบบจะประกอบด้วย เทคนิคการการวางแผนที่เหมาะสมเพื่อการกำหนดเส้นทางโดยขึ้นอยู่กับปัจจัยด้าน เวลา และคำนวณพลังงานที่ใช้ ข้อมูลที่มีในระบบ เช่น แผนที่ ราคาแกส จะอัพเดทอยู่เสมอด้วย
Google Map และเทคโนโลยี Web Service งาน ที่เกี่ยวข้องกับทางด้านนี้จะชี้ตรงกันว่า เวลาที่ใช้ในการท่องเที่ยวนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก แต่งานวิจัยแทบทั้งหมดยังไม่ได้พูดถึงเรื่องการใช้พลังงานอย่างเหมาะสม ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการวางแผน

ระบบจะประกอบไปด้วย
3 ส่วนหลักๆ คือ 1.Interactive engine 2.Travel planning optimization 3.Travel Planning explanation ซึ่งทั้ง 3 ระบบนี้จะส่งข้อมูลต่อเนื่องกันตามลำดับ ในส่วนของ Travel planning optimization นั้นก็จะปร
ะกอบไปด้วย 2 engine คือ 1. Time-based routing engine มีหน้าที่คำนวณหาเส้นทางที่สามารถไปยังสถานที่ที่สนใจภายในเวลาที่จำกัด และผลลัพธ์ที่ได้นี้จะถูกส่งไปยังอีก engine คือ 2. Energy consuming computation engine ซึ่งมีหน้าที่เลือกเส้นทางที่ดีที่สุดในแง่ของการบริโภคพลังงาน โดยต้องใช้ข้อมูลของยานพาหนะที่นักท่องเที่ยวใช้ด้วย สุดท้ายเส้นทางที่ใช้เวลาน้อยและบริโภคพลังงานน้อยจะถูกเลือกออกมา


แม้ว่าระบบที่นำเสนอไปจะสามารถเลือกเส้นทางที่ใช้พลังงานน้อยได้ แต่ก็ยังต้องมีการปรับปรุงอีกหลายอย่างกับระบบในอนาคต ในโมเดลคำนวณการใช้พลังงานนั้นยังต้องมีอีกหลายปัจจัยมาพิจารณาเสริมด้วย เพื่อความแม่นยำยิ่งขึ้น ระบบอาจจะเอาไปรวมกับการพยากรณ์อากาศ เพื่อทำให้การท่องเที่ยวมีความปลอดภัยมากขึ้น และยังสามารถนำไปใช้กับธุรกิจการท่องเที่ยวด้วยการนำไปปรับให้เข้ากับระบบ การวางแผนการท่องเที่ยว โดยเพิ่มระดับความน่าสนใจของแต่ละสถานที่จากข้อมูลร้านอาหารและที่พักรอบๆ สถานที่นั้น

The QR-code reorganization in illegible snapshots taken by mobile phones

การปรับปรุง QR code ที่ถ่ายแล้วอ่านได้ยากโดยโทรศัพท์มือถือ

ในการวิเคราะห์และแก้ไขรูป QR code ที่บิดเบี้ยว จะประกอบด้วยองค์ประกอบ5ส่วนคือ
     - การแปลงภาพให้เป็น grey-scale
     - Canny edge detection
     - External contours finding
     - การแปลงภาพแล้วกลับให้ได้สัดส่วน
     - Cell grids generating



External contours finding with Canny edge detection
จุดมุ่งหมายของ External contours finding คือ สืบค้นจุดมุมทั้ง4มุมในภาพ QR code ซึ่งในจุดเหล่านี้จะมีอยู่3จุดที่มีอยู่จริงและมีจุดหนึ่งที่ไม่มีเสมอ

วิธีสืบค้นจุดมุมทั้ง4 ทางที่ดีที่สุดคือหาจากสี่เหลี่ยมเล็กๆ3อันภายในรูป โดยพวกเขาได้ให้วิธีคือให้ทำการ Canny edge detection ก่อนแล้วค่อยทำการเรียกใช้ Find3Squares


Inverse perspective transformation
พวกเขาได้เสนออัลกอริทึม2อันคือ Canny detection และ double inverse perspective transformation (DIPT)
ทำการใส่ภาพที่รูปร่างผิดปกติเพราะการจับภาพจากกล้องที่ฝังตัว พวกเขาใช้การ Inverse perspective transformation เพื่อทำให้รูปร่างของภาพเป็นปกติ โดยจากรูป

ให้ f(x,y) แทนค่า RGB ของพิกเซลในตำแหน่งของ (x,y) ในภาพใหม่, g(u,v) แทนค่า RGB ของพิกเซลในตำแหน่งของ (u,v) ในภาพต้นแบบ ภาพใหม่จับคู่จากภาพต้นแบบแล้วเราจะได้ค่า RGB ของพิกเซลตามสมการ

A BIM-base Design Method for Energy-Efficient Building

A BIM-base Design Method for Energy-Efficient Building
ในทุกๆวันนี้ โลกของเราได้มีอุณหภูมิที่ร้อนขึ้น ภาวะโลกร้อนได้แพร่หลายไปทั่วโลก ราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ส่งผลให้มุนษย์ต้องคิดค้นหาวิธีเพื่อความอยู่รอด หนึ่งในวิธีการนั้นก็คือการเลือกปรับตัวเข้ากับธรรมชาติ ใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพในการออกแบบให้ดียิ่งขึ้น โดยนำแนวคิดระบบ BIM (Building Information Modeling) เข้ามาช่วยควบคุมดูแลและออกแบบอาคารที่พักอาศัย

The concept and emergence of BIM
BIM (Building Information Modeling) เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยในการออกแบบโดยเน้นการลดการใช้พลังงานเป็นหลัก การจัดการโครงสร้างและข้อมูลของอาคาร ใช้การออกแบบในรูปของ 3D เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการออกแบบอาคาร ครอบคลุทการสร้างทางเรขาคณิต ความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ ปริมาณและคุณสมบัติของส่วนประกอบอาคาร
แบ่งกรณีศึกษา 2 กรณีใหญ่ๆ คือ ภายนอกและภายในประเทศ (ในที่นี้คือเกาหลี)
กรณีภายในประเทศ
ออกแบบโดยเน้นการจัดการตามสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ ตามแต่ละพื้นที่
เช่น คงสภาพอุณหภูมิที่พอเหมาะภายในอาคารให้อยู่ในระดับปกติที่ 18-24 องศา หรือใช้ระบบแลกเปลี่ยนเพื่อระบายความร้อน และนำอากาศกลับมาใช้ใหม่
กรณีภายนอกประเทศ
วิธีหนึ่งคือการใช้พลังงานที่อยู่โดยรอบ ซึ่งก็คือพลังงานลม โดยใช้กังหันเป็นตัวสร้างพลังงานไฟฟ้าเพื่อนำมาใช้ในอาคาร และที่เยอรมัน ตัวอาคารได้ติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมผนังที่ออกแบบมา 3 ชั้น เพื่อควบคุมอุณหภูมิและแสงสว่างภายในอาคาร

BIM-besed low energy design method
CAD system คือ การออกแบบและคำนวณโดยคอมพิวเตอร์ในรูปของวัตถุ (Object-oriented) ตามแนวคิดของ BIM ที่เน้นการออกแบบตามสภาพแวดล้อมโดยวิเคราะห์ถึงการนำพลังงานมาใช้อย่างคุ้มที่สุด นักออกแบบจะเป็นผู้ประเมินและตัดสินใจโดยใช้ผลของ LAB-CAD เป็นตัวช่วยในการตัดสินใจ

สรุป
ระบบ BIM(Building Information Modeling) เป็นแนวคิดของการออกแบบโดยเน้นการบริโภคและใช้พลังงานให้คุ้มค่าและน้อยที่สุด โดยสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ซึ่งได้เริ่มที่การออกแบบเพื่อปรับรูปแบบที่พักอาศัยให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและภูมิศาสตร์ของพื้นที่นั้นๆ รวมถึงการออกแบบและจัดวางส่วนต่างๆในที่พักอาศัย เช่น หน้าต่าง กระจก เพื่อควบคุมอุณหภูมิและแสงสว่างให้พอเหมาะตลอดเวลา เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยลดการใช้พลังงานและเกิดการใช้อย่างคุ้มค่า

ปล.เป็นการสรุปแบบคร่าวๆ อาจมีการแก้ไขในเรื่องรายละเอียดอีกทีครีบ

Paper: Interaction with Laser pen

การทำงานของระบบ

1) จับภาพของจอโปรเจคเตอร์

2) นำภาพที่ได้มาหาจุดของเลเซอร์ ด้วยกระบวนการ Image Processing

3) หลังจากที่ได้จุดของเลเซอร์แล้ว นำมาคำนวณหาพิกัดของเลเซอร์บนจอโปรเจคเตอร์ (Mapping Image-Screen)

4) ทำการเปลี่ยนจุดบนจอโปรเจคเตอร์เป็นจุดบนระบบคอมพิวเตอร์

การหาจุดของเลเซอร์

คุณสมบัติ ของเลเซอร์จะมีค่าความสว่างสูง เมื่อเราฉายเลเซอร์ลงบนจอโปรเจคเตอร์ ค่า RGB ของพิกเซลบริเวณที่เราฉายจะมีค่าเข้าใกล้ 255 ดังนั้นทำให้เราสามารถหาจุดของเลเซอร์บนจอที่สภาพแวดล้อมมืด ๆ ได้ แต่ถ้าสภาพแวดล้อมสว่างจุดของเลเซอร์ก็จะกลมกลืนไปกับจอทำให้เราหาจุด เลเซอร์ไม่ได้

เราจะแก้ปัญหานี้โดยการนำฟิล์มสีแดงไปวางไว้หน้ากล้อง เพื่อกรองแสงสีอื่น ๆ ที่ไม่ใช้สีแดงออก ทำให้เราสามารถหาจุดของเลเซอร์ได้ ไม่ว่าจะอยู่ในสภาพแวดล้อมสว่างหรือมืด

การวัดขนาดระหว่าง Image-Screen

  1. วาด ตารางกลางพิกัดที่เรารู้บนคอม แล้วฉายบนจอโปรเจคเตอร์ เพื่อปรับไม่ให้ตารางออกนอกกรอบแล้วทำการบันทึกพิกัดของทุกจุดบนจอโปรเจคเตอร์
  2. เอารูปจอโปรเจคเตอร์มาเพื่อหาพิกัดของจุดภายในรูป
  3. คำนวณหาพิกัดของพิกเซล โดยใช้จุดสามจุด สร้างเป็นรูปสามเหลี่ยมคลุมพิกเซลไว้ แล้วคำนวณหาพิกัดด้วยสมการ

P0 = αP1 + βP2 + (1-α-β)P3

  1. หาจุดบนจอโปรเจคเตอร์ ที่สอดคล้องกับจุดสามจุดที่ใช้สร้างสามเหลี่ยม เมื่อได้ค่า α และ g เราจะคำนวณหาพิกัดของจุดบนจอที่สัมพันธ์กับจุดบนรูปได้ ดังนั้นเราจะสร้างวิธีการ Mapping Image-Screen

Ps. ยังไม่ค่อยเข้าใจการวัดขนาด Image-Screen เท่าไหร่ กำลังศึกษาเพิ่มอยู่ครับ

26 กรกฎาคม 2553

สรุป paper ของป๊อด Automating the Residential Thermostat Based on House Occupancy

Automating the Residential Thermostat Based on House Occupancy
ใน paper นี้เป็นการวิเคราะห์ก่อนการทำระบบอุณหภูมิอัตโนมัติโดยจะควบคุมเครื่องทำความร้อนเครื่องระบายอากาศเครื่องปรับอากาศ เรียกว่า HVAC ทั้งตอนที่มีคนอยู่ที่บ้านและตอนที่คนไม่อยู่ที่บ้าน โดยเป้าหมายคือระบบสามารถทำงานได้อย่างอิสระ และ ให้เจ้าของบ้านยุ่งเกี่ยวกับระบบน้อยที่สุด สามารถตรวจสอบระดับอุณหภูมิที่เหมาะสมตามช่วงเวลาและฤดูกาล และสามารถตรวจสอบระดับคาร์บอนไดออกไซด์ที่เหมาะสมเพื่อตรวจสอบสภาพแวดล้อมภายในบ้านและกิจกรรมภายในบ้านเพื่อการเปลี่ยนอุณหภูมิให้ได้ตามความเหมาะสม โดยคำนึงถึง ต้นทุนและประโยชน์ของระบบเป็นหลัก เพื่อเป็นการช่วยลดการใช้พลังงานที่สิ้นเปลืองและลดค่าใช้จ่ายรายเดือนในครัวเรือน จะเริ่มจาก ใช้บ้าน ecoMOD1 ในการทดลอง โดยเริ่มจากการวิเคราะห์เพื่อเลือกอุปกรณ์ ซึ่งมีสามอย่างคือ การใช้ โปรแกรมตรวจสอบอุณหภูมิ เครื่องตรวจจับการเคลื่อนไหว เซ็นเซอร์คาร์บอนไดออกไซด์ จากการวิเคราะห์ ได้เลือกใช้ เซ็นเซอร์คาร์บอนไดออกไซด์ และได้ส่งทีมไปสังเกตุ รวบรวมข้อมูลขอการใช้งาน HVAC และทำการติดตั้งอุปกรณ์พร้อมทดลองใช้ เซ็นเซอร์คาร์บอนไดออกไซด์ และวิเคราะห์ปัญหาเพื่อหาแนวทางการแก้ปัญ วิธีแก้ปัญหา ขอบเขตการแก้ปัญหาและวิเคราะห์ความเป็นได้ ในการทำระบบนี้ ซึ่งผลสรุปที่ได้คือในการใช้เซ็นเซอร์คาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อทำระบบอุณหภูมิอัตโนมัติภายในบ้านนั้น เป็นไปได้ และ สิ่งที่อาจจะทำในอนาคตนั้นคือการให้เจ้าของบ้านสามารถสั่งงานจากระยะไกลได้โดยผ่านทางอุปกรณ์พกพาเช่นสมาร์ทโฟน เพื่อที่จะได้อุณหภูมิที่ต้องการ ก่อนที่จะมาถึงบ้าน

Paper (Service ครับ)


เนื้อหา คร่าวๆ ใน paperคือ พูดถึงการออกแบบ IT service sys
tem และการเรียนรู้การจัดการ Platform ของ Web-base ครับ
ซึ่ง Frame ของ IT service system ประกอบไปด้วย
1.การวิเคราะห์ความต้องการ ของ user
2.ระบบการจัดการการให้บริการ IT
3.พื้นฐานของระบบการจัดการการให้บริการ IT
4.IT service Organizetion



และพูดถึง โครงสร้างที่สนับสนุนระบบการจัดการการบริการ IT ซึ่งประกอบด้วย
1.ฟังก์ชั่นของ service knowledge subsystem
2.ฟังก์ชั่นของการประเมิณคุณภาพ
3.ฟังก์ชั่นของการวิเคราะห์ service






25 กรกฎาคม 2553

แนวคิดเรื่องโปรเจค(ที่คิดไว้นะครับ)

เป็นการทำตัว QR-code Reader เพราะที่ผมเห็นส่วนมากโปรแกรมอ่านบาร์โค๊ดจะเป็นโปรแกรมบนมือถือที่จำเป็นต้องมีอุปกรณ์ที่เป็นกล้องติดมาด้วย ซะเป็นส่วนใหญ่

โดยมีฟังก์ชันที่คิดไว้คือ
- Image Reorganization ซึ่งเป็นการปรับปรุงภาพบาร์โค๊ดที่มีลักษณะไม่ชัดเจน เอียง มาทำเป็นภาพใหม่
- การ Encoder และ Decoder บาร์โค๊ด
- ฯลฯ (ยังคิดไม่ออกครับ)

ลักษณะโปรแกรมที่คิดไว้มี2ลักษณะคือ
- เป็นรูปแบบของ web application
- เป็นโปรแกรมที่ทำงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์เลย



ปล.ในส่วนของเปเปอร์กำลังทำสรุปครับ เดี๋ยวมันจะตามมา :))

28 มิถุนายน 2553

Chemical Co-project


รายงานความคืบหน้า 3 (แก้ไข)

เริ่มจากการวัดค่า flow rate จากเครื่องมือโดยปกติ และจึงทำการวัดค่าโดยอาศัยค่า volt ที่ได้จาก microcontroller ทั้งนี้ก่อนการเริ่มต้นการทดลองเราจะเซ็ทค่าต่่าง ๆ ของเครื่องให้เหมือนกัน ซึ่งได้แก่


1.pump drive ยี่ห้อ masterflex รุ่น 77521-40

2.สายยาง

2.1Ismatec Tubing (สายต่อปกติ)

Tube per pack :: 12

ID :: 1.02 mm

Dimensions(“L”) :: 16

2.2สายต่อพ่วงวาล์ว

ID :: 1.067 mm

3.Cartridge small รุ่น 07519-85

4.Pump head รุ่น 07519-15

5.ค่า occlusion :: 1,3








ภาพการทดลอง