07 มกราคม 2553

รายงานความก้าวหน้า ครั้งที่ 1



Tensile Testing
สืบเนื่องจากการไปสำรวจความต้องการของทางภาคฟิสิกส์มานั้น ทำให้ได้ทราบว่ามีความต้องการทางด้านการควบคุมและจัดการระบบการทำงานเกี่ยวกับการทำ tensile testing หรือก็คือการทดสอบแรงตึงของวัสดุซึ่งมีลักษณะของอุปกรณ์ ดังรูป


ทั้งนี้ความต้องการต่อระบบใหม่นั้น ประกอบไปด้วย
1. ส่วนควบคุมการทำงานของ motor ในการเคลื่อนที่ขึ้นลง
2. ส่วนควบคุมความเร็วรอบของ motor
3. ส่วนการวัดระยะขึ้นลง
4. ส่วนวัดแรง
5. ส่วนการรายงานผลการเปลี่ยนแปลงด้วยกราฟเส้น

และภายหลังจากการปรึกษากับอาจารย์ ได้ตกลงให้ศึกษาเกี่ยวกับการทำรายงานการเปลี่ยนแปลงด้วยกราฟเส้นเป็นเบื้องต้นก่อน และ ณ วันที่ 7 ม.ค. 53 ได้ทำส่วนดังกล่าวในเบื้องต้นเรียบร้อยแล้ว ทำให้ตระหนักถึงปัญหาได้ ดังนี้
1. การจัดการในเรื่องของตำแหน่ง pixel ต่าง ๆ เพื่อใช้ในการแสดงผล ดังนั้นเราจำเป็นจะต้องวิเคราะห์ในเรื่องของตำแหน่งที่แท้จริงเพื่อแสดงผล เช่น ค่าที่ได้รับจากข้อมูลเป็น (9,10) และขนาดของหน้าต่างแสดงกราฟ เป็น 407x407 โดยที่จุดกึ่งกลางของหน้าต่างคือ (203,203) นั่นหมายความว่า pixel ที่จะให้แสดงผลที่สอดคล้องกับค่า (9,10) นั้นก็คือ pixel ตำแหน่ง (212,213) สำหรับกรณีที่ เรากำหนดให้ค่า 1 pixel : 1 ค่า
2. การแสดงผลกราฟทั้งหมด จะต้องอยู่ภายในหน้าต่าง จะเกินออกไปไม่ได้ นั่นคือ เราจะต้องกำหนดอัตราส่วนให้กับแต่ละขีดของแกน x และ y เช่นในที่นี้จะกำหนดดังนี้
jumpX= Max(x) / 5 เช่น 20/5 = 4 นั่นคือจะได้แต่ละขีดมีค่าเป็น 4 8 12 16 20
และ
jumpY=Max(y) / 5 เช่น 40/5 = 8 นั่นคือจะได้แต่ละขีดมีค่าเป็น 8 16 24 32 40


รูปตัวอย่างกราฟที่ทดลองทำ

06 มกราคม 2553

มาสวัสดีปีใหม่...หายหัวไปนาน

สวัสดีปีใหม่ครับทุกๆคน ปีใหม่ เริ่มต้นใหม่ แต่อย่าทิ้งของเก่าเน้อ เร่งหาหัวข้อกันหน่อย แวะมาคุยกันบ้าง (ขอเป็นอาทิตย์หน้า อาทิตย์นี้เต็มเหยียด) สำหรับต้นกับตั๊ก งานนายสองคนนั้นต้องลุยกันแล้วนะเพราะเดี๋ยวไม่ทัน เนื่องจากได้เขียนโครงการแล้ว ต้องทำ ย้ำ...ต้องทำ ไม่งั้นตายยกหมู่แน่พรรคพวก

03 มกราคม 2553

สวัสดีปีใหม่ 2553

เริ่มต้นปีใหม่ 2553 กันแล้ว ขอให้เพื่อน ๆ ทุกคนมีความสุข สมปราถรนาทุกประการ มีสติอยู่เสมอ อย่างไรก็ตามอย่าลืมเขียนบทความของตัวเองกันต่อนะครับ
สวัสดีปีใหม่ 2553
@Jakk_K